E-Fix ช่างด่วน
7 ปีที่แล้ว
รู้จักวัสดุก่อสร้างก่อนจ้าง ผู้รับเหมา เริ่มงาน ตอนที่ 3 เหล็กเสริมคอนกรีต

ซีรี่ย์ตอนที่ 3 นี้ เป็นเรื่องที่ต่อเนื่องมาจากตอนที่แล้ว ที่เราเล่าไปในเรื่อง “คอนกรีต” เนื่องจากเป็นเรื่องขององค์ประกอบของคอนกรีตชนิดที่ 2 ในบทที่แล้ว คือ คอนกรีตเสริมเหล็ก หรือ Reinforce Concrete ตอนนี้เราจะมาพูดถึงเหล็กที่ใช้ใส่เข้าไปในคอนกรีต เพื่อเพิ่มคุณสมบัติด้านความแข็งแรง การรับแรง และเสริมความยืดหยุ่นให้กับโครงสร้างที่เป็นคอนกรีต แต่อย่างไรก็ตาม เหล็กที่จะใช้เสริมเข้าไปภายในโครงสร้าง จะต้องได้ขนาด และใช้งานอย่างถูกประเภทเท่านั้น ไม่เช่นนั้น อาจเกิดปัญหาในเรื่องความแข็งแรงของตัวอาคารได้ ดังนั้น เรื่องนี้ เจ้าของบ้านต้องรู้และ ผู้รับเหมา จะต้องใส่ใจให้มากเป็นพิเศษ

เหล็กที่ใช้เสริมเข้าไปเพื่อเป็นโครงสร้างให้กับคอนกรีต ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปมี 2 ชนิด ใหญ่ๆ คือ

1. เหล็กเส้นกลม มีลักษณะตรงตามชื่อก็คือ เป็นเหล็กเส้นที่มีลักษณะผิวด้านนอกกลม ไม่มีริ้วลาย เป็นเหล็กที่ใช้ในการก่อสร้างทั่วไปทั่ว แต่มีแบ่งย่อยตามขนาดของเหล็กในการใช้งานอีก เช่น

เหล็กขนาด 2 หุน (ขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลาง) หรือ RB6 ใช้สำหรับการก่อสร้างทั่วไปที่ไม่ต้องรับแรงมาก ใช้ทำปลอกเสา และปลอกคาน

เหล็กขนาด 3 หุน หรือ RB9 ใช้กับงานลักษณะเดียวกับข้อ 2 แต่ รับน้ำหนักมากกว่าเล็กน้อย

เหล็กขนาด 4 หุน หรือ RB12 ใช้กับงานก่อสร้างทั่วไป และงานกลึงเพื่อทำชิ้นงานจากเหล็ก เช่น การทำหัวน๊อต

เหล็ก RB19 นิยมใช้ในงานก่อสร้างถนน ประเภทถนนคอนกรีต

เหล็ก RB25 เป็นเหล็กเส้นกลมขนาดใหญ่ใช้ทำงานที่ต้องรับแรงมากๆ เช่น ใช้ทำเหล็กสตัท สำหรับงานยึดโครงขนาดใหญ่

2. เหล็กข้ออ้อย ความจริง ก็คือเหล็กเส้นกลม เพียงแต่ว่า มีบั้งหรือครีบ ด้านนอก ซึ่งสาเหตุก็เพื่อเสริมการยึดเกาะกันระหว่างเหล็กเส้นกับคอนกรีตให้มากขึ้น และจะเป็นเหล็กที่มีขนาดใหญ่กว่า ใช้ในการทำโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กได้ดี

เหล็กทั้งสองแบบใช้ในงานก่อสร้างทั่วไปเหมือนกัน แต่การใช้งานแตกต่างกัน เหล็กข้ออ้อย ควรใช้เป็นเหล็กเสริมหลักสำหรับโครงสร้างของบ้านหรืออาคาร ส่วน เหล็กเส้นกลม ควรใช้เป็นส่วนประกอบในการกระจายแรง ใช้เป็นเหล็กลูกตั้ง เหล็กปลอก หรือ เหล็กเสริมกันการแตกร้าวเท่านั้น ไม่ควรที่จะใช้เป็นเหล็กโครงสร้างเพื่อรับแรงหลักในการก่อสร้าง ซึ่งเรื่องนี้ ต้องมีการตรวจสอบงานให้ดี แต่ส่วนมากก็ไม่มีปัญหา เพราะ ผู้รับเหมา ที่มีประสบการณ์ทราบดีอยู่แล้ว

นอกจากเลือกใช้ชนิดของเหล็กให้เหมาะสมกับงานแล้ว เรื่องของคุณภาพก็ต้องใส่ใจด้วย เพราะเวลาที่เราไปซื้อเหล็กจากร้าน เขามีขายอยู่ 2 ประเภท คือ เหล็กเต็ม กับเหล็กไม่เต็ม ! ซึ่งคำนี้หมายถึง เหล็กที่มีขนาดเล็กกว่ามาตรฐาน ซึ่งมีผลในเรื่องการใช้งานรับน้ำหนัก จะต้องตรวจสอบและทำความเข้าใจกับ ผู้รับเหมา ให้ดี ว่าส่วนไหนสามารถใช้เหล็กไม่เต็มเพื่อลดค่าใช้จ่ายได้ ส่วนได้ไม่ควรใช้

เรื่องขอเหล็กเป็นอีกเรื่องที่ต้องใส่ใจ ในงานการก่อสร้าง เพราะเกี่ยวพันถึงความแข็งแรงของอาคาร อายุการใช้งาน และความปลอดภัยในการอยู่อาศัย และหากต้องการบริการในการ รับเหมาก่อสร้าง งานช่าง ที่สามารถวางใจได้ สามารถเข้ามาประกาศความต้องการ เพื่อ หาช่าง หรือ ผู้รับเหมา ได้ที่ houzzMate.com แหล่งรวมช่างที่มีช่างและ ผู้รับเหมา ที่พร้อมไปบริการรอคุณอยู่ และหากคุณเป็นช่าง หรือ ผู้รับเหมา ก็สามารถเข้าสมัครสมาชิกเพื่อหาความต้องการช่างจากผู้อยู่อาศัยได้ด้วยเช่นเดียวกัน !!

#ผู้รับเหมา #เหล็กเส้น #เหล็กเส้นก่อสร้าง #เหล็กเส้นกลม #เหล็กข้ออ้อย #คอนกรีตเสริมเหล็ก #เหล็กเสริมคอนกรีต #หาช่าง #รับเหมาก่อสร้าง #ก่อสร้าง #โครงอาคาร
Share
1866
บทความอื่นๆ
บทความอื่นๆ