คำชี้แจง
แบบสอบถามชุดนี้ จัดทำเพื่อรวบรวมข้อมูล เหตุผล ผลกระทบ ในส่วนของช่างผู้ปฏิบัติงาน สถานประกอบกิจการที่เป็นนายจ้าง และผู้รับบริการ ถึงเหตุผลความจำเป็นที่ต้องใช้บริการช่าง รวมถึงข้อเสนอแนะในสาขาที่ต้องการให้ช่างมีหนังสือรับรองความรู้ความสามารถต่อไป จึงขอความอนุเคราะห์จากท่านได้ให้ข้อมูลในการตอบแบบสอบถามตามข้อเท็จจริง หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความกรุณาจากท่านเป็นอย่างดี และขอขอบคุณท่านมา ณ โอกาสนี้
กดเพื่อเข้าสู่เเบบสอบถาม : ( เเบบสอบถาม )
การสำรวจความจำเป็นการใช้บริการช่างที่มีหนังสือรับรองความรู้ความสามารถ (License) ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน
ความเป็นมา
การรับรองความรู้ความสามารถ คือการออกหนังสือรับรองการทำงานหรือการประกอบอาชีพให้กับช่างผู้ปฏิบัติงานในสาขาที่มีการประกาศควบคุม โดยมีหลักเกณฑ์การประเมิน ดังนี้
1. ต้องผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติในสาขาที่ยื่นขอประเมิน กำหนดน้ำหนักคะแนนร้อยละ 50
2. ตรวจสอบจากเอกสารหรือหลักฐาน เช่น วุฒิการศึกษา การฝึกอบรม/สัมมนา ประสบการณ์การทำงาน กำหนดน้ำหนักคะแนนร้อยละ 25
3. ดูจากคุณลักษณะส่วนบุคคลที่แสดงถึงศักยภาพในการประกอบอาชีพหรือการทำงานที่มีอยู่ในตัวบุคคล (การสัมภาษณ์) กำหนดน้ำหนักคะแนนร้อยละ 25 หนังสือรับรองความรู้ความสามารถมีอายุห้าปี ผู้ที่จะขอหนังสือรับรองความรู้ความสามารถ ให้ยื่นคำขอพร้อมเอกสารหลักฐานตามแบบ คร. 10 พร้อมชำระค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการต่อศูนย์ประเมินความรู้ความสามารถกลางหรือศูนย์ประเมินความรู้ความสามารถตามมาตรา 26/4 (2)
กรมพัฒนาฝีมือแรงงานได้ออกพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557 เพื่อควบคุม พัฒนาและยกระดับมาตรฐานฝีมือแรงงานของผู้ประกอบอาชีพในสาขาอาชีพที่อาจเป็นอันตรายให้มีมาตรฐาน เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของสาธารณะ ด้วยการกําหนดให้ผู้ประกอบอาชีพมีหนังสือรับรองความรู้ความสามารถหรือ (License) โดยเริ่มที่สาขาช่างไฟฟ้าภายในอาคารเป็นสาขาแรก มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ผู้ปฏิบัติงานที่ไม่ปฏิบัติตามจะมีผลลงโทษปรับตามกฎหมายดังกล่าว
แบบสอบถามประกอบด้วย 3 ส่วนดังนี้
ส่วนที่ 1 ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ตอบแบบสอบถาม
ส่วนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับ พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ส่วนที่ 3 ข้อมูล ข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม