งานที่ ผู้รับเหมา มักได้รับการติดต่อเป็นประจำนอกเหนือจากการ รับเหมาก่อสร้าง ก็คงจะเป็นงานประเภทต่อเติม อาคารบ้านเรือน ซึ่งบางครั้งก็เป็นการไปทำงานเดิมของตัวเองนั่นแหละเพิ่มจากของเก่าที่เคยก่อสร้างให้เขามาก่อน แต่บางทีก็เป็นงานที่ต้องไปต่อเติมจากงานที่คนอื่นเขาทำเอาไว้ ซึ่งหากเป็นประเด็นหลัง บางทีก็มีปัญหาตามมาให้แก้ไข ยิ่งถ้าไม่มีแบบแปลนงานก่อสร้างเดิมที่เคยใช้ ก็อาจจะมีบางจุดที่เสี่ยงต่อการเกิดความเสียหายไม่เข้ากันและเป็นปัญหา และหนึ่งในเรื่องที่เจอบ่อยก็คือ ปัญหาท่อประปาที่อยู่ใต้ดินแตก ซึ่งทางที่ดี ผู้รับเหมาก่อสร้าง ที่จะเข้าไปทำงานต่อเติมควรหาทางป้องกันเอาไว้ก่อน

ปัญหาท่อประปาแตกใต้ดิน เกิดขึ้นได้จากการที่ท่อเดิมได้รับแรงกด หรือเจอการขุดลงไปแล้วกระแทกเข้า ทำให้ท่อเกิดความเสียหาย และมีน้ำรั่วออกมา ในกรณีที่เกิดในช่วงการก่อสร้าง ก็เป็นเรื่องที่พอรับมือได้ เพราะ ผู้รับเหมา ย่อมมีทีมช่างที่สามารถจัดการเรื่องนี้ได้ไม่ยากนัก แค่ขุดลงไปใต้ดินในบริเวณที่ท่อแตกมีน้ำไหลเอ่อออกมา แล้วทำการตัดเปลี่ยนท่อใหม่ ก็เป็นอันเรียบร้อย แต่... ที่น่ากลัวกว่าก็คือ มันไม่แตกในเวลานั้น... ไปเกิดปัญหาการแตกร้าวขึ้นในภายหลัง จากที่ทำงานเสร็จไปแล้ว หรืออาจจะเสร็จไปนาน และยิ่งเป็นส่วนที่อยู่ใต้อาคารเรื่องนี้ยิ่งเป็นเรื่องยุ่ง แต่ ผู้รับเหมาก่อสร้าง ก็คงทราบดีว่ามัน... เกิดขึ้นได้บ่อยมากโดยเฉพาะบริเวณใต้คานคอดิน ซึ่งเป็นจุดที่น้ำหนักของอาคารจะกดทับลงมา ซึ่งหากว่ามีท่ออยู่ด้านล่าง มีโอกาสสูงที่จะเกิดการแตกร้าวขึ้นในภายหลัง ดังนั้นจึงควรหาทางป้องกันเอาไว้ตั้งแต่ต้น เพื่อให้เจ้าของบ้านที่เป็นผู้ว่าจ้าง ไม่ต้องมาผจญกับปัญหาน่าปวดหัวเหล่านี้...
ปัญหาท่อประปาแตกใต้คานคอดิน เรื่องที่ ผู้รับเหมา ต่อเติมควรหาทางป้องกัน
ปัญหาท่อแตกใต้คานคอดิน เกิดจากการที่น้ำหนักของอาคารกดทับลงไป หรือมีการทรุดตัวของอาคาร โดยเฉพาะบริเวณช่วงที่เป็นรอยต่อระหว่างอาคารเก่าและส่วนของอาคารใหม่ที่ต่อเติมขึ้น หรือ ในจุดที่น้ำหนักของคานกดทับลงไป ท่อประปาที่อยู่ใต้ดินหากว่าเป็นท่อ PVC ก็แน่นอนว่าเมื่อได้รับแรงเกินกว่าที่จะดัดโค้งตามได้ก็ย่อมจะมีอาการแตกเสียหาย ยิ่งเป็นท่อเก่าที่ใช้งานมานานก็ยิ่งแตกกรอบแตกได้ง่ายขึ้นไปอีก ดังนั้นอยู่ๆ ไป เจ้าของบ้านอาจจะต้องเจอกับปัญหาค่าน้ำแพงขึ้นโดยไม่รู้ตัวในช่วงแรกที่เริ่มมีรอยแตก และมีปัญหาน้ำเอ่อขึ้นมาอย่างไม่รู้ตัว ในช่วงที่ท่อแตกหักรุนแรงแล้ว แน่นอนว่าต้องร้อง หาช่าง หรือ ตาม ผู้รับเหมา ที่เคยรับงานให้มาเป็นคนแก้ไข แต่ก็แน่นอนว่าเมื่อมันอยู่ข้างล่างคาน ก็ย่อมไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำการซ่อมแซม อาจจะต้องทุบต้องรื้อพื้นแล้วขุดลงไปเพื่อการเปลี่ยนท่อ เป็นงานที่ยากพอสมควร และเจ้าของบ้านก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก ดังนั้นป้องกันไว้ก่อนได้ย่อมเป็นเรื่องที่ดีที่สุด
วิธีการป้องกันท่อประปาแตกใต้คานคอดินที่ผู้รับเหมาก่อสร้างควรทำ
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในจุดที่แก้ไขยาก อย่างแรกที่ ผู้รับเหมา ควรทำก็คือ ทำการตรวจสอบเส้นทางเดินท่อประปาที่มีอยู่เดิม ให้รู้ว่าอยู่ตรงไหน ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ เพื่อหาทางเลี่ยง แต่หากว่าเลี่ยงไม่ได้ เพราะแบบหรือเนื้อที่บังคับ ก็ควรมีการเสริมความแข็งแรงของจุดรับแรง เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำหนักไปกดลงบนท่อ หรือ... หากเป็นไปได้ และเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก ก็คือ ควรทำการเปลี่ยนท่อในบริเวณที่จะถูกน้ำหนักคานกดทับจากท่อ PVC เดิม ( หรือแม้แต่ท่อเหล็ก หากว่าเก่าและใช้งานมานานเพราะมีความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายได้เช่นกันเมื่อเจอน้ำหนักคานกดทับ) ให้เป็นท่ออ่อนที่มีความยืดหยุ่นสูงสามารถบิดโค้งตามแรงกดได้โดยไม่เสียหาย ที่เรียกว่า ท่อ PE แทน ก็จะสามารถป้องกันไม่ให้เกิดเหตุยุ่งยากขึ้นได้
นี่เป็นวิธีการป้องกันปัญหาท่อประปาแตกใต้คานคอดิน ซึ่ง ผู้รับเหมา ควรทำเพื่อหาทางป้องกันในงาน ต่อเติม รับเหมาก่อสร้าง เพื่อที่เจ้าของบ้านจะได้ไม่มีปัญหาตามมาในภายหลัง และควรอธิบายเรื่องนี้ให้เจ้าของบ้านทราบด้วยว่าเหตุใดจึงต้องหาทางป้องกันเอาไว้ก่อน ซึ่งนั่นจะทำให้เจ้าของบ้านและ ผู้รับเหมาก่อสร้าง หรือช่าง เข้าใจกันได้ง่ายขึ้น และเขาจะมั่นใจในการทำงานที่รอบคอบของเรามากยิ่งขึ้นอีกด้วย